เรื่องที่สนใจ ( งานวิจัยที่กำลังศึกษาอยู่)
เรื่อง ส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านการทำปลาดุกร้า ของชุมชนบ้านไร่
หมู่ที่7 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ หรือถ่ายทอดต่อกันจากสถาบันต่าง ๆ ในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันการเมืองการปกครอง และสถาบันทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งชุมชนเหล่านั้นมีความรู้หรือประสบการณ์ที่แตกต่างกันหรืออาจจะเหมือนกันก็ได้ ดังนั้น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิปัญญาของชาวบ้านจึงเป็นภารกิจสำคัญของคนไทยในยุคปัจจุบัน ที่จะช่วยกันรวบรวมมรดกทางความคิดและสติปัญญาของบรรพชนเอาไว้ก่อนที่ภูมิปัญญาเหล่านั้นจะสูญสลายไป
คนไทยรู้จักวิธีการถนอมผลผลิตการเกษตรมานานแล้ว แต่เป็นการทำเพื่อบริโภคภายในครอบครัว หรือขายในตลาดใกล้เคียง แต่เนื่องจากวิทยาการด้านเกษตรก้าวหน้าขึ้นมาก ทำให้สามารถผลิตได้ในปริมาณมากขึ้นและมีคุณภาพดี จึงต้องปรับปรุงกรรมวิธีเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีสามารถเก็บได้นานยิ่งขึ้น ตลอดจนจัดหาภาชนะบรรจุให้เหมาะสมเพื่อส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่าย
การทำปลาดุกร้าเป็นกรรมวิธีถนอมอาหารอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายและทำเก็บไว้ได้นาน เป็นสินค้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงอย่างหนึ่งของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช แม่บ้านเกษตรกรชุมชน หมู่ที่ 7 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลาได้นำปลาดุกเลี้ยงที่ราคาตกต่ำ มาทดลองทำปลาดุกร้าจนเป็นผลสำเร็จ ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาปลาดุกเลี้ยงที่ไม่ได้ขนาดด้วย การทำปลาดุกร้าในภาคใต้ต่างจากปลาดุกร้าในภาคอีสาน ซึ่งจะใช้วิธีการหมัก คือ ภาคใต้นำปลาดุกมาทำเป็นปลาเค็ม ใช้เกลือกับน้ำตาลทรายเก็บรักษาปลาดุกไว้บริโภค มีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ปลาดุกร้าสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น การย่าง ปรุงสดเป็นอาหาร หรือการแปรรูปต่างๆ สาเหตุที่นิยมนำปลาดุกทำปลาร้านั้น เพราะปลาดุกร้าเป็นปลาเนื้ออ่อน ก้างน้อย อีกทั้งปลาดุกก็สามารถหาได้ทั่วไปในน้ำจืด เช่น คลอง หนอง บึง คนสมัยก่อนนิยมนำมารับประทานกับข้าวเหนียว หรือข้าวจ้าวก็ได้
+++++++ไว้โอกาสหน้าจะนำรูปมาให้เพื่อนๆดูกันนะค่ะ+++++++++++++
วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)